Sunday, 28 December 2014

กิจกรรมงานกระจายความรู้สู่ประชาชนประจำปี 2557




     ขอขอบคุณบริษัทแอโรว์ เบดดิ้ง จำกัด ที่ให้เกียรติเชิญบรรยายในวันที่ 2 มิถุนายน 2557 ที่ผ่านมา ทางคลินิกกายภาพบำบัดพีเฮชพี หวังเป็นอย่างยิ่งว่าทางบริษัทจะได้รับประโยชน์จากการอบรมในครั้งนี้









     อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญ คือ การกระจายความรู้เพื่อป้องกันการบาดเจ็บก่อนจะเกิดอาการ : ภาพบรรยากาศในการบรรยายเรื่อง Office Syndrome ที่ธ.กสิกรไทย สำนักงานใหญ่ เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2557 ขอบคุณพนักงานทุกคนที่เข้าฟังบรรยาย และขอบคุณแผนกการตลาด รพ.พญาไท3 ที่เชิญมาเป็นผู้บรรยายในครั้งนี้










     เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2557 ทางคลินิกกายภาพบำบัด พี เฮช พี ( พี่แป้น และ ฮอล์ล ) ได้รับเชิญไปร่วมในรายการ Good Morning Family News ช่วงวันนี้ของเรา วันนี้ของโลก ทางช่อง 3 Family




     ขอขอบคุณ บริษัท CEVA Vehicles Logistics (Thailand) Ltd. ที่จัดการบรรยายในหัวข้อ Office Syndrome รอบที่1 เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2557

     ทางคลินิกกายภาพบำบัด พีเฮชพี หวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกท่านจะได้รับประโยชน์จากการบรรยายในครั้งนี้




     ภาพบรรยากาศการบรรยายในหัวข้อ Office Syndrome รอบที่ 2 เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2557 ขอขอบคุณ บริษัท CEVA Vehicles Logistics (Thailand) Ltd. ที่ให้เกียรติเชิญบรรยาย

     ทางคลินิกกายภาพบำบัด พีเฮชพี หวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกท่านจะได้รับประโยชน์จากการบรรยายในครั้งนี้




     อีก 1 โอกาสดีๆ ทางคลินิกกายภาพบำบัดพีเฮชพี กับบทความส่งท้ายปี 2557


     ในปี 2558 ทางคลินิกกายภาพบำบัดพีเฮชพี  จะได้มีอีก 1 โอกาสในการเขียนบทความกระจายความรู้ให้กับประชาชน แล้วรอพบกันในปี 2558

Tuesday, 21 October 2014

คลินิกกายภาพบำบัดพีเฮชพี กับวันโรคกระดูกพรุนโลก

     เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2557 ทางคลินิกกายภาพบำบัด พี เฮช พี ( พี่แป้น และ ฮอล์ล ) ได้รับเชิญไปร่วมในรายการ Good Morning Family News ช่วงวันนี้ของเรา วันนี้ของโลก ทางช่อง 3 Family 

คลิ๊กเพื่อรับชมรายการ


http://www.youtube.com/watch?v=tpRmi79u1Uw&sns=em












Saturday, 6 September 2014

กล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรังกับการเคลื่อนไหวที่เปลี่ยนไป

อิทธิพลของกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง...?

กภ.สิริชัย บุญวัฒนกุล  ( ฮอล์ล )
คลินิกกายภาพบำบัดพีเฮชพี

     ร่างกายเราถูกสร้างมาเพื่อให้เคลื่อนไหว ทุกการเคลื่อนไหวเกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อ ทุกกล้ามเนื้อทำงานโดยการหด-คลายเส้นใยกล้ามเนื้อ เมื่อใยกล้ามเนื้อหดตัวก็จะดึงกระดูกที่กล้ามเนื้อนั้นเกาะอยู่ให้หดเข้าหากัน จึงมองเห็นเป็นการเคลื่อนไหว โดยส่วนใหญ่ในแต่ละการเคลื่อนไหวมักเกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อหลายๆมัดช่วยกัน

    ในขณะที่กล้ามเนื้อเกิดการอักเสบหรือบาดเจ็บ บริเวณนั้นก็จะเกิดกระบวนการป้องกันการบาดเจ็บ ( Protective Mechanism ) ทำให้เกิดภาวะเกร็งตัว ใยกล้ามเนื้อหดรั้ง ซึ่งภาวะนี้เกิดเพื่อให้ร่างกายเราขยับบริเวณนั้นน้อยลง จะได้เกิดการพัก และเกิดกระบวนการฟื้นฟูร่างกายอย่างเต็มที่ ( Healing Process ) แต่ทุกคนมักไม่ปล่อยให้ร่างกายเราได้หยุดพักแบบนั้น เราก็ยังคงใช้ร่างกายเราทำโน่นทำนี่ทั้งๆที่มันส่งสัญญานบอกแล้วว่าต้องพัก

      สมมุติว่า มีการเคลื่อนไหวบางอย่างที่จะต้องใช้การทำงานของกล้ามเนื้อ 4-5 มัดช่วยกันทำให้เกิดการเคลื่อนไหว แล้วถ้ากล้ามเนื้อมัดที่ 1 เกิดการบาดเจ็บ กล้ามเนื้อมัดที่ 2-5 ก็ต้องทำหน้าที่แทน ซึ่งก็จะส่งผลให้เกิดความผิดปกติต่อไปในกล้ามเนื้อเหล่านั้นอีก ซึ่งการใช้กล้ามเนื้อหรือร่างกายส่วนอื่นมาช่วยทำงานจะเกิดขึ้นอัตโนมัติ เพราะตัวเราสั่งให้มีการเคลื่อนไหวนั้น ทั้งๆที่สภาพร่างกายเราบาดเจ็บจนแทบจะขยับไม่ได้แล้ว

     เมื่อกล้ามเนื้อหลายๆมัดเกิดการหดรั้งนานเข้า โครงสร้างร่างกายก็จะบิดเบี้ยวไปเรื่อยๆ ตามการหดรั้งของกล้ามเนื้อที่มีปัญหา เริ่มเกิดภาวะกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง ต่อมาก็จะเริ่มรู้สึกตัวมันหนักๆ ขยับเคลื่อนไหวไม่คล่อง เราก็จะเคลื่อนไหวน้อยลง จะทำไรก็จะรู้สึกขี้เกียจไม่อยากลุกไม่อยากขยับตัว นานเข้าก็จะเริ่มมีปัญหาข้อยึดติดตามมา เลวร้ายที่สุดก็จะเกิดปัญหากับระบบประสาท ซึ่งอาจส่งผลให้มีอาการชาตามปลายมือปลายเท้า

ตัวอย่างดังรูปข้างล่าง


     จากรูป ถ้ามองเผินๆ อาจจะคิดว่าไม่น่ามีปัญหาอะไร ก้มหลังได้เยอะกว่าเราอีก แต่ในความเป็นจริงคนนี้มีความผิดปกติของโครงสร้างบริเวณหลังส่วนล่างเรื้อรังจนร่างกายเรียนรู้ที่จะไม่ขยับบริเวณนั้นและไปใช้การเคลื่อนไหวบริเวณอื่นทำหน้าที่แทน ถ้าเราสังเกตการก้มตัวที่ถูกต้องหลังจะต้องมีความโค้งงอของหลัง แต่ในภาพบริเวณหลังไม่มีการเคลื่อนไหวเลย ( พิจารณาที่เส้นสีเขียว ) โดยคนนี้เวลาก้มหลังจะใช้การดันสะโพกไปทางด้านหลัง ( ตามลูกศรสีเหลือง ) แทนการงอหลังโดยที่ไม่รู้ตัว ซึ่งถ้าเป็นการก้มตัวตามปกติแนวของข้อสะโพก ข้อเข่า ข้อเท้า จะต้องอยู่ในแนวเส้นตรงใกล้เคียงกัน ( สังเกตเส้นสีแดง ) ดังนั้นเมื่อไหร่ก็ตามที่ทำการก้มหลังก็จะก่อให้เกิดความผิดปกติของโครงสร้างร่างกายส่วนอื่นที่ต้องมาทำหน้าที่แทน ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างบริเวณสะโพก, น่อง ฯลฯ
     
     นี่เป็นแค่หนึ่งตัวอย่างของอิทธิพลของกล้ามเนื้อที่ผิดปกติเรื้อรัง ซึ่งทุกครั้งที่เราใช้งานมันต่อไปโดยไม่รู้ตัว จนก่อให้เกิดความผิดปกติทางโครงสร้างร่างกายในระยะยาวต่อไป

Friday, 22 August 2014

พังผืดหลังผ่าตัดเสริมหน้าอกกับการจัดการอย่างถูกต้อง

กภ.จารุชา ตั้งไพบูลย์ทรัพย์ ( พี่แป้น )
คลินิกกายภาพบำบัดพีเฮชพี

      ถ้าอธิบายกันตามหลักสรีระวิทยาแล้วทุกครั้งทีเรามีบาดแผลเกิดขึ้นในร่างกาย  กลไกการรักษาตัวจะต้องสร้างพังผืดขึ้นมาเพื่อให้เนื้อเยื่อประสานกัน  นี่เป็นข้อดีของพังผืดเรียกว่าเป็น Healing process ของร่างกาย  และเมื่อมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในร่างกายก็จะมีการสร้างพังผืดมาพันรอบสิ่งนั้นเพื่อกำจัดออก นี่ก็เป็น Protective mechanism ของร่างกายเหมือนกันที่ต้องดูแลตัวเอง  แต่สิ่งที่เราใส่เข้าไปเป็นสิ่งที่เราต้องการมีไว้อยู่ไม่อยากให้พังผืดมาพันรอบ  หรือถ้ามีมาพันรอบก็อยากให้มันน้อยที่สุดหรืออย่าแข็งจนเราทนเก็บไว้ไม่ไหวต้องเอาออกจริงๆ


     การดูแลพังผืดให้นิ่มมีหลักการเดียวคือทำให้พังผืดมีความยืดหยุ่นและนุ่มลง  จึงจะอยู่ร่วมกันกับเราได้อย่างมีความสุขกันทั้ง 2 ฝ่าย การดูแลและจัดการพังผืดภายหลังผ่าตัดเสริมหน้าอกด้วยเทคนิคการนวดทางกายภาพบำบัด (ต่อไปจะขอเขียนสั้นๆ ว่า "การนวดหน้าอก" เพื่อการเข้าใจง่ายต่อผู้อ่าน) 

     การนวดหน้าอกที่ถูกต้องก็มีหลักการในการนวด  และในแต่ละคนมีอัตราการสร้างพังผืดไม่เท่ากัน  การเรียงตัวของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันก็ไม่เหมือนกัน  บางคนเรียงตัวแบบร่างแห  หรือแบบขนาน  ก็ทำให้ความนุ่มของพังผืดต่างกัน ส่งผลให้ในบางคนถึงไม่นวดก็นิ่ม  แต่บางคนนวดก็ยังนิ่มได้ช้า  แต่โดยทั่วไปอัตราการสร้างพังผืดจะมากในช่วง 6 เดือน - 1 ปี  ดังนั้นการดูแลอย่างใส่ใจจะอยู่ในช่วง 6 เดือนแรก ซึ่งควรได้รับการประเมิณสภาพร่างกายอย่างถูกต้องจากนักกายภาพบำบัดที่มีความชำนาญก่อนทำการรักษา 
     
     ความสำคัญในการดูแลคือช่วงแรกภายหลังการผ่าตัดต้องให้การอักเสบลดลงเร็วที่สุด พังผืดที่เกิดจากกระบวนการซ่อมแซมจะได้มีน้อยๆ  ที่เหลือก็ทำให้พังผืดที่สร้างขึ้นจากการไม่ยอมรับถุงนิ่มลงเท่านั้น   แต่บางคนสร้างพังผืดน้อย  ก็มีแต่พังผืดจากการซ่อมแซมเท่านั้นถือว่าโชคดีค่ะ  นี่เป็นสาเหตุว่าทำไมบางคนไม่ต้องทำอะไรก็นุ่มถูกใจ

     แต่การนวดทางกายภาพบำบัด เป็นวิธีการทางการแพทย์และเป็นเทคนิคทางกายภาพบำบัด ไม่ใช่การนวดทั่วไป ไม่ใช่ว่าจะต้องแรงหรือต้องนานไว้ก่อน เพราะนั่นเป็นการกระตุ้นให้เนื้อเยื่อเกิดการบาดเจ็บ กระบวนการสร้างพังผืดจึงเร็วขึ้นและหดรัดแน่นขึ้น  ทุกครั้งที่เรานวดมือเราต้องสัมผัสให้ได้ว่าตรงไหนมีการยึดติดของพังผืดแล้วทำให้ถุงแผ่ออกไม่ได้เราก็ค่อยเลาะพังผืดตรงนั้นออก  บางคนที่ใช้แต่แรงอย่างเดียวนั้นทำให้เกิดกระบวนการอักเสบกลับมาใหม่อีก  ร่างกายก็ต้องกลับเข้าสู่กระบวนการ Healing process อีกพังผืดชุดใหม่จากตัวเราก็จะสร้างอีก  นี่ก็เป็นอีกเหตุผลว่านวดแล้วทำไมไม่นิ่มสักทีค่ะและอาจทำให้หน้าอกยิ่งแข็งและผิดรูปมายิ่งขึ้นค่ะ จนบางครั้งไม่สามารถแก้ไขได้

Thursday, 21 August 2014

การนวดหน้าอกหลังผ่าตัดเสริมหน้าอก

ควรเริ่มต้นนวดหน้าอกเมื่อไหร่...?
                      
กภ.จารุชา ตั้งไพบูลย์ทรัพย์ ( พี่แป้น )
คลินิกกายภาพบำบัดพีเฮชพี

     การดูแลและจัดการพังผืดภายหลังผ่าตัดเสริมหน้าอกด้วยเทคนิคการนวดทางกายภาพบำบัด (ต่อไปจะขอเขียนสั้นๆ ว่า "การนวดหน้าอก" เพื่อการเข้าใจง่ายต่อผู้อ่าน) ในคนไข้ทุกคนจะมีความแตกต่างกันในเรื่องระยะเวลาและความแรงของการนวด  ในรายที่ตัดไหมแล้วเริ่มนวดทันที จะได้เปรียบกว่าการนวดเมื่อเริ่มมีอาการแข็งหรือตึงเกิดขึ้นแล้วค่ะ  แต่ถ้านวดแรงเกินก็อาจทำให้อักเสบได้ง่ายค่ะ ดังนั้นในการนวดสำหรับการตัดไหมแล้วในช่วงสัปดาห์แรก ช่วงนี้ยังมีการอักเสบอยู่บ้างในบางคนก็ยังบวมอยู่ เมื่อตัดไหมแล้วช่วงสัปดาห์นี้ให้ใช้ปุ้มนิ้วเซาะขอบรอบเต้านมเพื่อไม่ให้รอบเต้ามีพังพืดยึดติด  จากนั้นให้จับตัวถุงขยับให้มีการเคลื่อนไหวได้ทั้งเต้า โดยเฉพาะทรงสูงให้พยายามเน้นดันลงให้ถุงเคลื่อนตัวลงให้สุด ใช้เวลาไม่นานแค่รู้สึกไม่ค่อยตึง อย่าทำให้มากเกินไปเพราะอาจจะมีการอักเสบขึ้นมาได้ ถ้าสังเกตุว่าหลังนวดแล้วอุ่นๆให้วางแผ่นเย็นลดการอักเสบทันทีค่ะ

     
     เมื่อหลัง 1 สัปดาห์จากตัดไหมแล้วการอักเสบลดลงหมดแล้วการเจ็บจากการผ่าตัดหมดไปแล้ว  ถ้ายังมีการเจ็บในช่วงนี้อาจเกิดจาการรัดของพังพืด ( Fibrosis ) แล้วค่ะ (หน้าอกควรจะยุบบวมหมดแล้ว แต่ถ้าในช่วงนี้หน้าอกยังบวม ปวด อุ่นอยู่ แสดงว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น ควรกลับไปพบแพทย์ค่ะ) ในระยะนี้ให้เริ่มนวดเซาะขอบเหมือนเดิมและใช้ฝ่ามือและสันมือ นวดทั้งเต้าให้แรงขึ้นโดยเฉพาะฐานอกต้องนุ่มเพื่อให้อกคล้อยลงสวยงามมากขึ้น ภายหลังนวดถ้านุ่มดีแล้วไม่มีอาการคัดตึงมาก ให้ลองนอนคว่ำเพื่อให้ถุงแผ่ออกให้สุดค่ะ ความสำคัญอยู่ที่ต้องสังเกตุหน้าอกขณะนวดนะคะว่า บริเวณไหนมีการยึดติดของพังพืดก็พยายามยืดบริเวณนั้น และจัดแต่งทรงเวลานวดอยู่ตลอดที่นวดนะคะ ทรงจะได้สวยงามค่ะ


     การจัดเวลานวดนั้นควรนวดในช่วงเช้ากับก่อนนอนนะคะ เพราะช่วงตื่นนอนเช้าเป็นเวลาที่ตึงที่สุดค่ะ ส่วนก่อนนอนเราน่าจะมีเวลาที่สุด และในระหว่างวันให้นวดทุกครั้งที่มีอาการตึงรัด หรือเสียวแปล๊บเกิดขึ้น อาการเหล่านี้จะมีอยู่ในช่วงแรกเท่านั้นเมื่อเริ่มนิ่มมากแล้ว อาการตึงรัดจะน้อยลงเรื่อยๆ จนในที่สุดจะรู้สึกเหมือนเป็นเนื้อเราปกติไม่มีความรู้สึกของคนที่ทำหน้าอกมาเลยค่ะ


Friday, 25 July 2014

นักกายภาพบำบัดประจำคลินิก

1) กภ.จารุชา ตั้งไพบูลย์ทรัพย์ 
( พี่แป้น )

จบการศึกษา ปี 2534 วท.บ.( กายภาพบำบัด ) มหาวิทยาลัยมหิดล

ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัด เลขที่ ก 685

ประวัติการทำงาน :

ปี 2534 - 2540 : นักกายภาพบำบัดประจำ รพ. สมิติเวช สุขุมวิท

ปี 2540 - 2546 : นักกายภาพบำบัดประจำ รพ.พญาไท 3

ปี 2546 - 2557 ผจก.ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด รพ.พญาไท 3

ปี 2554 - ปัจจุบันนักกายภาพบำบัดเฉพาะทาง คลินิกกายภาพบำบัด พีเฮชพี

ปี 2558 : คอลัมนิสต์ ประจำคอลัมน์ "รู้ลึกเรื่องกาย" ในนิตยสาร "ดิฉัน"
      
    ความชำนาญพิเศษ : การทำกายภาพบำบัดคนไข้ภายหลังผ่าตัดเสริมหน้าอก

(ดูแลคนไข้กลุ่มนี้ตั้งแต่ ปี 2534 - ปัจจุบัน)

    เบอร์โทรศัพท์ : 081-866-5989 (พี่แป้น), 084-529-3355 (คุณติ๊ก - สำหรับนัดคิวล่วงหน้า)



2) กภ.สิริชัย บุญวัฒนกุล
( ฮอล์ล )

จบการศึกษา ปี 2546 วท.บ. ( กายภาพบำบัด ) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัด เลขที่ ก 2615

ประวัติการทำงาน : 

ปี 2546 - 2555 : นักกายภาพบำบัดประจำ รพ.พญาไท 3

ปี 2546 - 2548 : นักกายภาพบำบัด ( Part-time ) รพ.ราชธานี

ปี 2555 - 2557 : นักกายภาพบำบัดชำนาญการ รพ.พญาไท 3

ปี 2554 - ปัจจุบัน : นักกายภาพบำบัดเฉพาะทาง คลินิกกายภาพบำบัด พีเฮชพี

ปี 2558 : คอลัมนิสต์ ประจำคอลัมน์ "รู้ลึกเรื่องกาย" ในนิตยสาร "ดิฉัน"

     ความชำนาญพิเศษ : การทำกายภาพบำบัดคนไข้ภายหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม, การปรับโครงสร้างร่างกาย กล้ามเนื้อ และแนวกระดูกสันหลัง

     เบอร์โทรศัพท์ : 084-648-7848 (ฮอล์ล), 086-661-2002 (คุณหลี - สำหรับนัดคิวล่วงหน้า)



การดูแลหลังผ่าตัดศัลยกรรมเสริมหน้าอกทางกายภาพบำบัด (นวดหน้าอก) พี่แป้น

เวลาทำการ

    อังคาร, ศุกร์    :  13.00 - 20.00

    พุธ                  :  10.00 - 22.00
    พฤหัส             :  10.00 - 18.00
    เสาร์               :   9.00 - 20.00
    อาทิตย์           :   9.00 - 15.00 
     
     *สะดวกเวลาไหนมาได้เลยไม่ต้องนัดล่วงหน้าค่ะ*

**กรุณามาก่อนเวลาปิดอย่างน้อย 1 ชั่วโมงนะคะ**

     
สอบถามข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

        - เคาน์เตอร์ชำระค่าบริการ คลินิกกายภาพบำบัด พีเฮชพี (PHP PT Clinic)


        - ทางโทรศัพท์ 081-866-5989, 099-448-5268 ( พี่แป้น ), 084-529-3355 ( คุณติ๊ก )


        - Line ID : php_pt_clinic


        - Line@ : https://line.me/R/ti/p/%40breastmassage


       - Facebookhttps://www.facebook.com/profile.php?id=100026290507690 ( พี่แป้น ดูแลหลังเสริมหน้าอก )

        คลินิกกายภาพบำบัด พีเฮชพี ไม่มีสาขาอื่นนะคะ  และ สำหรับทุกคนที่โทรมาถามสนใจอยากเรียนการทำกายภาพบำบัดภายหลังศัลยกรรมเสริมหน้าอกหรือให้จัดอบรมวิธีการรักษาคนไข้ พี่แป้นต้องขอโทษด้วยนะคะที่พี่ไม่สามารถสอนบุคคลทั่วไปได้ค่ะ  เพราะต้องใช้ความรู้พื้นฐานทางกายภาพบำบัด เช่น Anatomy Physioloเเgy รวมถึงความรู้และเทคนิคการรักษาทางกายภาพบำบัดในการดูแลคนไข้ภายหลังเสริมหน้าอกมาตลอด 30 ปีนะคะ ดังนั้นคนที่จะสามารถทำการรักษาได้ควรต้องจบปริญญาตรี สาขากายภาพบำบัด และสอบผ่านใบอนุญาตประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัดแล้วนะคะ ( สำหรับน้องๆ นักกายภาพบำบัด ที่สนใจ พี่ยังไม่เปิดสอนในตอนนี้นะคะ เพราะ การดูแลคนไข้กลุ่มนี้ค่อนข้างยากและ sensitive มาก อีกทั้งมีข้อจำกัดในเรื่อง case study )
         คนไข้หลังผ่าตัดเสริมหน้าอกทุกคนต้องได้รับการประเมินสภาพปัญหาและวางแผนการรักษาตามหลักการทางการแพทย์เป็นรายบุคคลนะคะ แต่ละกรณีมีวิธีการดูแลไม่เหมือนกันค่ะ เช่น ไม่ใช่ทุกเคสนอนคว่ำได้, ไม่ใช่ทุกเคสประคบร้อนได้ เป็นต้นค่ะ อย่าลืมนะว่าสิ่งที่เราทำมา คือ การผ่าตัดชนิดนึง การดูแลควรให้ถูกวิธีกันดีกว่านะคะ จะได้ไม่เกิดปัญหาแทรกซ้อนตามมาค่ะ


ด้วยความปรารถนาดีค่ะ
พี่แป้น (กภ.จารุชา ตั้งไพบูลย์ทรัพย์)


(สำหรับคนไข้ที่เป็นที่รู้จักและต้องการความเป็นส่วนตัว กรุณาโทรนัดหมายล่วงหน้าโดยตรงกับพี่แป้นนะคะ) 

Friday, 4 July 2014

แผนที่ คลินิกกายภาพบำบัดพีเฮชพี (PHP PT CLINIC)

คลินิกกายภาพบำบัด PHP (พี่แป้น และ ฮอล์ล)
     

การเดินทางโดยรถยนตร์


     ลงทางด่วนสาธุประดิษฐ์ ชิดขวากลับรถ ขับผ่านเซ็นทรัลพระราม 3 ชิดขวากลับรถ ขับผ่านโลตัสชิดซ้าย เลี้ยวซ้ายเข้า ถ.นนทรี (ทางเข้าสำนักงานเขตยานนาวา) ขับตรงมา เลี้ยวขวาเข้า ซ.นนทรี14 (ซ.นาคสุวรรณ) ขับตรงมา จะเจอ Lotus Express และ 7-11 อยู่ทางด้านขวามือ แล้วจะเจอป้ายคอนโดของลุมพินี ชื่อ PST Condo ให้เลี้ยวขวาเข้าคอนโด เมื่อเลี้ยวแล้วให้มองด้านขวามือทันที จะเจอตึกคลินิกกายภาพบำบัด พีเฮชพี ให้ตรงเข้าไปกลับรถในคอนโด เพิ่อมาจอดรถในรั้วได้เลย คลินิกกายภาพบำบัด พีเฮชพี อยู่ชั้น 1

การเดินทางโดยรถไฟฟ้า BTS


     ลง BTS ช่องนนทรี ออกประตู McDonald 
     ต่อแท๊กซี่ วิ่งตรงมา ถ. นราธิวาส เลี้ยวขวาแยกที่มีโลตัส  ผ่านโลตัสชิดซ้าย เลี้ยวซ้ายเข้า ถ.นนทรี ( ทางเข้าสำนักงานเขตยานนาวา) ขับตรงมา เลี้ยวขวาเข้า ซ.นนทรี14 (ซ.นาคสุวรรณ) ขับตรงมา จะเจอ Lotus Express และ 7-11 อยู่ทางด้านขวามือ แล้วจะเจอป้ายคอนโดของลุมพินี ชื่อ PST Condo ให้เลี้ยวขวาเข้าคอนโด เมื่อเลี้ยวแล้วให้มองด้านขวามือทันที จะเจอตึกคลินิกกายภาพบำบัด พีเฮชพี ให้ตรงเข้าไปกลับรถในคอนโด เพิ่อมาจอดรถในรั้วได้เลย คลินิกกายภาพบำบัด พีเฮชพี อยู่ชั้น 1

การเดินทางโดยรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT

     ลง MRT สถานีศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ทางออก 1 
     ต่อแท๊กซี่ วิ่งตรงมา ถ.รัชดา-พระราม 3 ขับตรงผ่านสี่แยกนราธิวาส-พระราม 3 ผ่านโลตัสชิดซ้าย เลี้ยวซ้ายเข้า ถ.นนทรี ( ทางเข้าสำนักงานเขตยานนาวา) ขับตรงมา เลี้ยวขวาเข้า ซ.นนทรี14 (ซ.นาคสุวรรณ) ขับตรงมา จะเจอ Lotus Express และ 7-11 อยู่ทางด้านขวามือ แล้วจะเจอป้ายคอนโดของลุมพินี ชื่อ PST Condo ให้เลี้ยวขวาเข้าคอนโด เมื่อเลี้ยวแล้วให้มองด้านขวามือทันที จะเจอตึกคลินิกกายภาพบำบัด พีเฮชพี ให้ตรงเข้าไปกลับรถในคอนโด เพิ่อมาจอดรถในรั้วได้เลย คลินิกกายภาพบำบัด พีเฮชพี อยู่ชั้น 1

พิกัด GPS ของคลินิกกายภาพบำบัดพีเฮชพี

     13.69247917719961,100.53855814039707